1. เหตุผลและความจำเป็น
ปัญหาการปนเปื้อนของแมลงศัตรูพืชยังเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการส่งออกพืชผักและผลไม้ไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มสหภาพยุโรป ในปี 2564 มีมูลค่าการส่งออกผักและผลิตภัณฑ์ไปกลุ่มสหภาพยุโรปสูงถึง 86,026 ล้านบาท และปี 2565 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มถึง 106,546 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มสหภาพยุโรปมีการบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures : SPS) อย่างเข็มงวด ส่งผลให้ผักและผลไม้สดจากไทยได้รับการแจ้งเตือนการตรวจพบศัตรูพืชกักกันติดไปกับสินค้าบ่อยครั้งผ่านทางระบบการแจ้งเตือน EUROPHYT จากข้อมูลของกลุ่มพัฒนาระบบความปลอดภัยสินค้าพืช กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร (ข้อมูล ณ วันที่ 16 พฤษภาคม 2566) พบว่า มีศัตรูพืชกักกันติดไปกับสินค้าผักและผลไม้ของไทยอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ เพลี้ยไฟ หนอนแมลงวันชอนใบ แมลงหวี่ขาวยาสูบ และหนอนแมลงวันผลไม้ โดยในปี พ.ศ. 2564 ได้รับการแจ้งเตือนพบแมลงศัตรูพืชติดไปสินค้าเกษตรของไทย 30 ครั้ง (ตรวจพบแมลงหวี่ขาวยาสูบ 13 ครั้ง เพลี้ยไฟ 6 ครั้ง หนอนแมลงวันผลไม้ 4 ครั้ง หนอนแมลงวันชอนใบ 2 ครั้ง และแมลงศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ รวม 5 ครั้ง) ปี พ.ศ. 2565 ได้รับการแจ้งเตือนพบแมลงศัตรูพืชติดไปสินค้าเกษตรของไทย จำนวน 24 ครั้ง (ตรวจพบแมลงหวี่ขาวยาสูบ 12 ครั้ง หนอนแมลงวันผลไม้ 4 ครั้ง เพลี้ยไฟ 3 ครั้ง หนอนแมลงวันชอนใบ 1 ครั้ง แมลงศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ รวม 4 ครั้ง) ปี พ.ศ. 2566 มีการแจ้งเตือนพบแมลงศัตรูพืชติดไปสินค้าเกษตรของไทย จำนวน 9 ครั้ง (ตรวจพบเพลี้ยไฟ 6 ครั้ง แมลงหวี่ขาวยาสูบ 2 ครั้ง และหนอนแมลงวันผลไม้ 1 ครั้ง) นอกจากนี้กลุ่มสหภาพยุโรปยังมีการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมในการนำเข้าพืชที่มีความเสี่ยงสูง {commission Implementing Regulation (EU) 2018/2019} โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2562 เงื่อนไขดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการส่งออกมะระจีนของไทย ต่อมามีการปรับปรุงเงื่อนไขการนำเข้าพืชฉบับใหม่ {Commission Implementing Regulation (EU) 2021/2285} ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2565 ส่งผลกระทบต่อการส่งออกผักแลพผลไม้เพิ่มอีก 5 ชนิด คือ พริก มะเขือ มะละกอ ฝรั่ง และน้อยหน่า โดยกรมวิชาการเกษตรได้เสนอมาตรการลดความเสี่ยงจากศัตรูพืชกักกัน (system approach) ในพืชทั้ง 6 ชนิด ต่อกลุ่มสหภาพยุโรปและกลุ่มสหภาพยุโรปได้พิจารณาและยอมรับวิธีดังกล่าว ซึ่งเป็นมาตรการลดความเสี่ยงจากศัตรูพืชกักกันตั้งแต่แปลงปลูกถึงโรงคัดบรรจุ
สมาคมกีฏและสัตววิทยาแห่งประเทศไทยจึงมีความประสงค์ที่จะเผยแพร่ความรู้ด้านนี้ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำการเกษตร จึงได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การจัดการแมลงศัตรูพืชกักกันในการผลิตผักและผลไม้เพื่อการส่งออกกลุ่มสหภาพยุโรป” โดยเชิญนักกีฏวิทยาที่เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวมาเป็นผู้ถ่ายทอดให้ความรู้ จัดให้มีการฝึกปฏิบัติการวินิจฉัยแมลงศัตรูพืชกักกันอย่างง่ายด้วยตนเอง และนำตัวอย่างแมลงศัตรูพืชกักกันมาให้เห็น การจัดการฝึกอบรมนี้ยังเป็นเวทีให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีโอกาสพบปะและรู้จักนักวิชาการ เพื่อการประสานงานกันได้ต่อไปในอนาคต
2. วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการมีความรู้ ดังนี้คือ :-
2.1 รู้จักแมลงศัตรูพืชกักกันที่สำคัญของกลุ่มสหภาพยุโรป และลักษณะการเข้าทำลาย
2.2 การจัดการแมลงศัตรูพืชกักกันในการผลิตผักและผลไม้เพื่อการส่งออกกลุ่มสหภาพยุโรป
3. รูปแบบการฝึกอบรม
เป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ แบ่งเป็นภาคบรรยาย 4 ชั่วโมง 45 นาที และภาคปฏิบัติ 1 ชั่วโมง 30 นาที
4. กลุ่มเป้าหมาย และจำนวนผู้เข้าอบรม
กลุ่มเป้าหมาย นักวิชาการ/พนักงานของภาคเอกชน และบุคคลที่สนใจ มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
จำนวนผู้เข้าอบรมฯ 80 คน
5. วัน เวลา สถานที่
เวลา วันพฤหัสบดี ที่ 20 มิถุนายน 2567 (1 วัน)
สถานที่ ณ ห้องประชุมมนตรี รุมาคม (501) ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ฯ
กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
6. กำหนดการสมัคร และค่าลงทะเบียน
กำหนดเปิดรับสมัคร วันที่ 15 พฤษภาคม 2567
กำหนดปิดรับสมัคร วันที่ 15 มิถุนายน 2567
ค่าลงทะเบียน คนละ 2,500 บาท
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับ
– เอกสารประกอบการบรรยาย หลักสูตร “การจัดการแมลงศัตรูพืชกักกันในการผลิตผักและผลไม้
เพื่อการส่งออกกลุ่มสหภาพยุโรป” พิมพ์ 4 สี 1 เล่ม
– อาหารกลางวัน 1 มื้อ และเครื่องดื่ม/อาหารว่าง 2 มื้อ
7. ประกาศนียบัตร
ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการครบตามเวลาที่กำหนด จะได้รับประกาศนียบัตรรับรองการผ่านฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การจัดการแมลงศัตรูพืชกักกันในการผลิตผักและผลไม้ เพื่อการส่งออกกลุ่มสหภาพยุโรป” จากสมาคมกีฏและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย
8. ผู้รับผิดชอบการจัดฝึกอบรม และการสมัคร
ผู้รับผิดชอบ สมาคมกีฏและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการดำเนินการฝึกอบรม ดาว์นโหลด
การสมัคร แจ้งความจำนงเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมและติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่
1.สมาคมกีฎและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย
-โทรศัพท์ 096 807 7104
-line 096 807 7104
-Facebook สมาคมกีฎและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย
-E-mail: ezathai@gmail.com
2.นายสัจจะ ประสงค์ทรัพย์ โทรศัพท์มือถือ ๐62-625-3399
3.นางสาววทินี ตันเจริญ โทรศัพท์มือถือ 081-835-3526 e-mail: vatinee.tancharoen@basf.com
ดาว์นโหลด ใบสมัคร
สมัครออนไลน์ คลิ๊ก
————————————————————-
กำหนดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
หลักสูตร “การจัดการแมลงศัตรูพืชกักกันในการผลิตผักและผลไม้เพื่อการส่งออกกลุ่มสหภาพยุโรป”
วันพุธ ที่ 26 มิถุนายน 2567 ณ ห้องประชุมมนตรี รุมาคม (501) อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
———————————–
08:00 – 08:30 น. ลงทะเบียน
08:30 – 08.45 น. พิธีเปิดการฝึกอบรมฯ
โดย นายศรุต สุทธิอารมณ์
นายกสมาคมกีฏและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย
08.45 – 10:00 น. รู้จักแมลงศัตรูพืชกักกันที่สำคัญของกลุ่มสหภาพยุโรป
และลักษณะการเข้าทำลาย
โดย นางสาวสัญญาณี ศรีคชา นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ
10:00 – 10:15 น. พักรับประทานเครื่องดื่ม-อาหารว่าง
10:15 – 12:00 น. รู้จักแมลงศัตรูพืชกักกันที่สำคัญของกลุ่มสหภาพยุโรป
และลักษณะการเข้าทำลาย (ต่อ)
โดย นางสาวสัญญาณี ศรีคชา นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ
12:00 – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 14:30 น. การจัดการแมลงศัตรูพืชกักกันในการผลิตผักและผลไม้เพื่อการส่งออกกลุ่มสหภาพยุโรป
โดย นางสาวสัญญาณี ศรีคชา นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ
14:3๐ – 14:45 น. พักรับประทานเครื่องดื่ม-อาหารว่าง
14:45 – 16:30 น. ฝึกปฏิบัติการจำแนกชนิดศัตรูพืชกักกัน อย่างง่าย
โดย นางสาวสัญญาณี ศรีคชา และคณะนักวิชาการ กลุ่มบริหารศัตรูพืช
16:30 – 16:45 น. พิธีปิดการฝึกอบรม และมอบประกาศนียบัตร
โดย นายกสมาคมกีฏและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย
———————————–